วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

DBA. in Global Management : D-HOUSE GROUP เข้าจับช้อนหุ้น กลุ่ม CP ตั้งเป้า...

DBA. in Global Management : D-HOUSE GROUP เข้าจับช้อนหุ้น กลุ่ม CP ตั้งเป้า...: หุ้น จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี บทความนี้ไม่มี การอ้างอิง จาก เอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปร...

DBA. in Global Management : D-HOUSE GROUP เข้าจับช้อนหุ้น กลุ่ม CP ตั้งเป้า...

DBA. in Global Management : D-HOUSE GROUP เข้าจับช้อนหุ้น กลุ่ม CP ตั้งเป้า...: หุ้น จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี บทความนี้ไม่มี การอ้างอิง จาก เอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปร...

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

DBA. in Global Management : D-HOUSE GROUP ร่วมทุน จับหุ้น กลุ่ม CP ลงทุนอสัง...

DBA. in Global Management : D-HOUSE GROUP ร่วมทุน จับหุ้น กลุ่ม CP ลงทุนอสัง...: [ ปิด ] หุ้นสามัญ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี หุ้นสามัญ เป็น ตราสารทุน ที่ บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าข...

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

สิทธิของผู้ถือหุ้น-ทำอะไรได้บ้าง วันนีท่านมีหุ้นรึยัง หุ้นคือ อะไร


สิทธิของผู้ถือหุ้น

1. สิทธิที่จะได้รับใบหุ้น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1127 วรรคแรก "ให้บริษัททำใบหุ้นคือใบสำคัญสำหรับหุ้นใบหนึ่งหรือหลายใบมอบให้เป็นคู่มือ แก่ผู้ถือหุ้นทุกๆ คน" ใบหุ้นนี้ถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้ถือหุ้นมากเพราะมีค่ามากเหมือนเป็นหลัก ทรัพย์ของผู้ถือหุ้น ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการทำนิติกรรมต่างๆ ได้ เวลาจะโอนหุ้น ขายหุ้นหรือยกให้ใครก็ต้องมีใบหุ้นนี้เป็นหลักฐานยืนยันกับบุคคลอื่นได้ ผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิที่จะได้รับใบหุ้นจากบริษัท
2. สิทธิขอเปลี่ยนใบหุ้น
ผู้ถือหุ้นจะขอเปลี่ยนใบหุ้นจากหุ้นชนิดระบุชื่อเป็นใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ ถือ หรือเปลี่ยนใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อได้ตามมาตรา 1134, 1136
3. สิทธิที่จะโอนหุ้น
หุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือย่อมโอนกันได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่หุ้นชนิดระบุชื่อจะโอนกันได้ต้องมีข้อบังคับของบริษัทจำกัดสิทธิใน การโอนได้ตามมาตรา 1129 วรรคแรก
4. สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล
เมื่อบริษัทดำเนินกิจการมีกำไรและที่ประชุมใหญ่อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลให้ แก่ผู้ถือหุ้นได้ เมื่อสิ้นรอบปีบัญชี ผู้ถือหุ้นก็มีสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลนั้นได้ตามข้อบังคับและชนิดของหุ้น ตามมาตรา 1200,
1201
5. สิทธิในการควบคุมการดำเนินงานของบริษัท
5.1) ในการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นการประชุมสามัญหรือการประชุม วิสามัญ บริษัทต้องเชิญผู้ถือหุ้นเข้าประชุมทุกครั้ง ผู้ถือหุ้นจึงเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ได้ ตามมาตรา 1176
5.2) ในการประชุมทุกครั้งผู้ถือหุ้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องต่างๆ ที่บริษัทขออำนาจจากผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ เช่น การแต่งตั้ง ถอดถอนกรรมการ การกำหนดอำนาจผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท การเพิ่มทุน ลดทุน การจ่ายเงินปันผล การตั้งผู้ชำระบัญชี
การจ่ายเงินบำเหน็ดตอบแทนให้กรรมการของบริษัท จนถึงการเลิกกิจการของบริษัท
6. สิทธิที่จะตรวจดูรายงานการประชุมกรรมการและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
กรณีนี้เป็นการควบคุมการงานของบริษัท โดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ดังนั้นการที่ผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธินี้ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ผู้ถือหุ้นจะต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท โดยการตรวจดูรายงานการประชุมกรรมการและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง ก่อน เพื่อนำมาสอบถามกรรมการในที่ประชุมใหญ่ของบริษัทในคราวต่อไป จะได้ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมว่าสมควรจะลงคะแนนเสียงในทางใด ตามมาตรา 1207
7. สิทธิในการฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่
กรณีที่การประชุมใหญ่นั้นได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกัน หรือได้ลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัท ซึ่งถือว่าที่ประชุมใหญ่นั้นได้ลงมติโดยผิดระเบียบ ผู้ถือหุ้นร้องขอให้ศาลเพิกถอนมตินั้นได้ โดยร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ลงมตินั้น ตามมาตรา 1195
8. สิทธิในการฟ้องกรรมการ
เมื่อกรรมการของบริษัทปฏิบัติงานของบริษัทให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท แต่บริษัทมิได้ดำเนินการฟ้องกรรมการนั้น ถ้ากรรมการทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายเป็นส่วนตัวด้วยแล้ว ผู้ถือหุ้นก็อาจฟ้องกรรมการนั้นในนามตนเองได้ ตามมาตรา 1169
9. สิทธิที่จะจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นหรือใช้เป็นหลักประกันหนี้
การที่หุ้นสามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งจึงสามารถโอนกันได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทก่อน เว้นแต่จะเป็นหุ้นระบุชื่อซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้ให้โอนได้ ตามมาตรา 1129
10. สิทธิที่จะได้ซื้อหุ้นออกใหม่ของบริษัทตามส่วนของการถือหุ้นเดิม
การออกหุ้นใหม่ขายให้กับบุคคลภายนอก อาจกระทบกระเทือนถึงสัดส่วนความเป็นเจ้าของของบริษัทของผู้ถือหุ้นเดิม กฎหมายจึงบัญญัติให้บริษัทขายหุ้นออกใหม่แก่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อน ตามสัดส่วนของหุ้นเดิมที่ถืออยู่ตามมาตรา 1222
11. สิทธิที่จะได้รับเงินค่าหุ้นและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของบริษัท หลังจากมีการเลิกบริษัทและชำระบัญชีแล้ว
เมื่อบริษัทดำเนินงานแล้วขาดทุนจนต้องเลิกกิจการ และได้มีการชำระบัญชีใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทและหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว หากมีเงินเหลือต้องนำมาแบ่งคืนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนต่อไป ตามมาตรา 1269
12. สิทธิอื่นๆ
เช่น สิทธิที่จะเป็นผู้สอบบัญชี สิทธิที่จะตรวจทะเบียนผู้ถือหุ้น สิทธิในการเรียกให้บริษัทส่งสำเนาทะเบียนหุ้น สิทธิในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเอง สิทธิมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทน สิทธิในการฟ้องให้เลิกบริษัทและสิทธิในการร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้บริษัทฟื้น คืนสู่ทะเบียน

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

นาย อธิกิจ เจษฏาญานเมธา ท่านที่ปรึกษาระดับสูง ด้านกฏหมายและทนายความ D-HOUSE

www.d-housegroup.com

















กฏหมายสิ่งแวดล้อม




                  กฏหมายสิ่งแวดล้อมเป็นกฏหมายที่มีคุณลักษณะพิเศษกล่าวคือจะความเกี่ยวพันกับ ศาสตร์ในสาขาอื่นๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ กฏหมายสิ่งแวดล้อมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทุกชนิดครอบ คลุมทั้งสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมของไทยคือ เพื่อคุ้มครองและสงวนรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศของธรรมชาติรวทั้งพลเมืองของชาติ จากกิจกรรมใดๆที่อาจมีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
   พระ ราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ถือได้ว่าเป็นกฏหมายแม่บทที่ใช้ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกล่าวคือ มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ครอบคลุมถึงการจัดการปัญหามลพิษทุกรูปแบบะสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติฉบับบนี้ยังได้มีการนำหลักการใหม่ๆมาใช้ในการจัดการสิ่งแวด ล้อม อาทิเช่น หลักผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย การยอมรับบทบาทของประชาชนและองค์การพัฒนาเอกชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ รวมทั้งหลักการที่สำคัญอีกหลายประการดังที่ปรากฏในหมายเหตุท้ายพระราช บัญญัติดังกล่าว ดังนี้
      ๑) ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ๒) จัดระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไตามหลักการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ๓) กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นให้เกิดการประสานงาน และมีหน้าที่ร่วมกันในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกำหนดแนวทางปฏิบัติในส่วนที่ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง
      ๔) กำหนดมาตรการควบคุมมลพิษด้วยการจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ
      ๕) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดมลพิษให้เป็นไปโดยชัดเจน
      ๖) กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านกองทุนและความช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้มีการยอมรับที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ความรับผิดในคดีสิ่งแวดล้อม

ความรับผิดทางแพ่ง
    ใน การเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งโดยทั่วไปนั้น ผู้เสียหายจะต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับความเสีย หายที่ได้รับว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหรือไม่อน่างไรซึ่งเป็นแนวคิด จากทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ทฤษฎีนี้ได้ใช้พิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดโดยพิจารณาถึงเงื่อนไขและความ เหมาะสมชองเหตุและผลของการกระทำนั้นเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เสียหายที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าข้อกล่าวอ้างของตน เป็นความจริงและความเสียหายที่ได้รับเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อของจำเลยในคดีนั้น ซึ่งในคดีสิ่งแวดล้อมการที่จะพิสูจน์ให้ได้ครบองค์ประกอบเช่นนั้นถือเป็น ภาระและความยากลำบากอย่างยิ่ง

ความรับผิดทางอาญา
มาตรา การลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำผิดในคดีสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่แตก ต่างออกไปตามลักษณะของโทษ กล่าวคือ โทษประหารชีวิตและจำคุกมีวัตถุประสงค์ที่จะตัดโอกาสผู้กระทำความผิดออกไปจาก สังคมมิให้มีโอกาสได้กระทำผิดเช่นนั้นอีก รวมทั้งเพื่อป้องปราบและยับยั้งบุคคลอื่นมิให้กล้าที่จะกระทำความผิดเช่น เดียวกันนั้น ส่วนการริบทรัพย์สินนั้นจะมีวัตถุประสงค์เป็นการป้องกันและตัดโอกาสผู้กระทำ ผิดที่จะใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านั้นในการกระทำความผิด กล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการลงโทษผู้กระทำความผิดในคดี สิ่งแวดล้อมนั้นจะมีลักษณะเป็นการป้องกันโดยการยับยั้งผู้กระทำความผิดให้ เกิดความเกรงกลัวและตัดโอกาสมิให้ได้รับความสะดวกที่จะกระทำความผิด เนื่องจากสิ่งแวดล้อมหากถูกทำลายไปแล้วไม่อาจฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพที่ดี ดังเดิมได้ ดังนั้นดารป้องกันปัญหาจึงเป็นมาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ความรับผิดทางปกครอง
มาตรการ ทางปกครอง ได้แก่ ระบบทะเบียนและระบบการอนุญาตดำเนินการต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาของสิ่ง แวดล้อมและอุตสาหกรรม มาตรการทางปกครองเพื่อการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้มี การดำเนินการภายใต้การควบคุมขององค์กรเฉพาะที่มีอำนาจในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และในระดับชาติ โดยทีการจัดองค์กรและรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกันๆไป โดยที่ในบางประเทศจะดำเนินการโดยองค์กรเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางควบ คุมทุกภาคส่วนของสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมทางอุตสาหกรรมในท้องถิ่น 

_____________________________________________________________________________________________

อ้างอิง
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.



ท่านที่ปรึกษาระดับสูง ด้านกฏหมายและทนายความ D-HOUSE GROUP นาย อธิกิจ เจษฏาญานเมธา

ท่านที่ปรึกษาระดับสูง ด้านกฏหมายและทนายความ D-HOUSE GROUP นาย อธิกิจ เจษฏาญานเมธา www.d-housegroup.com
















กฏหมายสิ่งแวดล้อม




                  กฏหมายสิ่งแวดล้อมเป็นกฏหมายที่มีคุณลักษณะพิเศษกล่าวคือจะความเกี่ยวพันกับ ศาสตร์ในสาขาอื่นๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ กฏหมายสิ่งแวดล้อมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทุกชนิดครอบ คลุมทั้งสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมของไทยคือ เพื่อคุ้มครองและสงวนรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศของธรรมชาติรวทั้งพลเมืองของชาติ จากกิจกรรมใดๆที่อาจมีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
   พระ ราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ถือได้ว่าเป็นกฏหมายแม่บทที่ใช้ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกล่าวคือ มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ครอบคลุมถึงการจัดการปัญหามลพิษทุกรูปแบบะสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติฉบับบนี้ยังได้มีการนำหลักการใหม่ๆมาใช้ในการจัดการสิ่งแวด ล้อม อาทิเช่น หลักผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย การยอมรับบทบาทของประชาชนและองค์การพัฒนาเอกชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ รวมทั้งหลักการที่สำคัญอีกหลายประการดังที่ปรากฏในหมายเหตุท้ายพระราช บัญญัติดังกล่าว ดังนี้
      ๑) ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ๒) จัดระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไตามหลักการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ๓) กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นให้เกิดการประสานงาน และมีหน้าที่ร่วมกันในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกำหนดแนวทางปฏิบัติในส่วนที่ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง
      ๔) กำหนดมาตรการควบคุมมลพิษด้วยการจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ
      ๕) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดมลพิษให้เป็นไปโดยชัดเจน
      ๖) กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านกองทุนและความช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้มีการยอมรับที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ความรับผิดในคดีสิ่งแวดล้อม

ความรับผิดทางแพ่ง
    ใน การเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งโดยทั่วไปนั้น ผู้เสียหายจะต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับความเสีย หายที่ได้รับว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหรือไม่อน่างไรซึ่งเป็นแนวคิด จากทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ทฤษฎีนี้ได้ใช้พิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดโดยพิจารณาถึงเงื่อนไขและความ เหมาะสมชองเหตุและผลของการกระทำนั้นเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เสียหายที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าข้อกล่าวอ้างของตน เป็นความจริงและความเสียหายที่ได้รับเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อของจำเลยในคดีนั้น ซึ่งในคดีสิ่งแวดล้อมการที่จะพิสูจน์ให้ได้ครบองค์ประกอบเช่นนั้นถือเป็น ภาระและความยากลำบากอย่างยิ่ง

ความรับผิดทางอาญา
มาตรา การลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำผิดในคดีสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่แตก ต่างออกไปตามลักษณะของโทษ กล่าวคือ โทษประหารชีวิตและจำคุกมีวัตถุประสงค์ที่จะตัดโอกาสผู้กระทำความผิดออกไปจาก สังคมมิให้มีโอกาสได้กระทำผิดเช่นนั้นอีก รวมทั้งเพื่อป้องปราบและยับยั้งบุคคลอื่นมิให้กล้าที่จะกระทำความผิดเช่น เดียวกันนั้น ส่วนการริบทรัพย์สินนั้นจะมีวัตถุประสงค์เป็นการป้องกันและตัดโอกาสผู้กระทำ ผิดที่จะใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านั้นในการกระทำความผิด กล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการลงโทษผู้กระทำความผิดในคดี สิ่งแวดล้อมนั้นจะมีลักษณะเป็นการป้องกันโดยการยับยั้งผู้กระทำความผิดให้ เกิดความเกรงกลัวและตัดโอกาสมิให้ได้รับความสะดวกที่จะกระทำความผิด เนื่องจากสิ่งแวดล้อมหากถูกทำลายไปแล้วไม่อาจฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพที่ดี ดังเดิมได้ ดังนั้นดารป้องกันปัญหาจึงเป็นมาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ความรับผิดทางปกครอง
มาตรการ ทางปกครอง ได้แก่ ระบบทะเบียนและระบบการอนุญาตดำเนินการต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาของสิ่ง แวดล้อมและอุตสาหกรรม มาตรการทางปกครองเพื่อการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้มี การดำเนินการภายใต้การควบคุมขององค์กรเฉพาะที่มีอำนาจในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และในระดับชาติ โดยทีการจัดองค์กรและรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกันๆไป โดยที่ในบางประเทศจะดำเนินการโดยองค์กรเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางควบ คุมทุกภาคส่วนของสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมทางอุตสาหกรรมในท้องถิ่น 

_____________________________________________________________________________________________

อ้างอิง
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.



วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

นางศิรภัสสร ปราบสมรชัย www.d-housegroup.com

นางศิรภัสสร ปราบสมรชัย ที่ปรึกษาและผู้อำนวยการ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร www.d-housegroup.com

ประวัติท่านที่ปรึกษา







ชื่อ                                                           นางศิรภัสสร    ปราบสมรชัย                          
วัน เดือน ปี เกิด                                   18  มกราคม  พ.ศ. 2511
ที่อยู่ปัจจุบัน                                         240/96 หมู่บ้านมานุวงศ์  หมู่  3 ซอย 8
ตำบลคลองคะเชนทร์   อำเภอเมืองพิจิตร
จังหวัดพิจิตร
ที่ทำงานปัจจุบัน                                  โรงเรียนเทศบาลบ้านปากทาง 
                                                                ถนนประชาอุทิศ   ตำบลในเมือง 
อำเภอเมือง  จังหวัดพิจิตร
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน                     ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.2526                              จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 
จากโรงเรียนสรรเพชรอัฎฐมาพิทยาคม
จังหวัดพิจิตร
พ.ศ. 2529                             จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
จากโรงเรียนหัวดงรัชนูปถัมภ์ 
จังหวัดพิจิตร
พ.ศ.2534                              ค.บ. (ครุศาสตรบัณฑิต)
จากวิทยาลัยครูเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์
 พ.ศ.2554                             กศ.ม. (บริหารการศึกษา)
                                                จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี